Angry Birds

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

1. ระบบสารสนเทศ (Information System)



ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)

แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม




 2. ระบบสารสนเทศประกอบด้วย



1. Hardware

2. Software

3. บุคลากร (Peopleware)

4. กระบวนการทำงาน (Procedire)

5. ข้อมูลและสารสนเทศ



3. ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ หมายถึง อะไร?

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System)

ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลหรือสารสนเทศนั้นไปช่วยในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ระบบสารสนเทศที่ดีจึงควรมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) ซึ่งพิจารณาได้จากความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) และความสมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) ช่วยให้เกิดความเข้าใจในการใช้งาน (Simple) ทันต่อเวลา (Timely) มีความคุ้มค่า (Economical) ตรวจสอบได้ (Verifiable) มีความยืดหยุ่น (Flexible) สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant) สะดวกในการเข้าถึง (Accessible) และมีความปลอดภัย (Secure) ระบบสารสนเทศดังกล่าว เมื่อนำมาใช้จะช่วยบุคลากรในองค์กรให้สามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจนี้เรียกว่า DSS (Decision Support System) ซึ่งเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information System) โดย DSS มีลักษณะ ประโยชน์




4. ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง




1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure)


มื่อมีการกำหนดโปรแกรมการตัดสินใจ องค์กรจะต้องเตรียมกฎเกณฑ์การตัดสินใจไว้ โดยแสดงขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งอาจเป็นการตัดสินใจ (flow chart) ตารางการตัดสินใจหรือสูตรต่างๆ ขั้นตอนการตัดสินใจต้องระบุถึงสารสนเทศที่ต้องการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับกฎเกณฑ์การตัดสินใจแบบมีโครงสร้างนั้น จำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศอย่างเด่นชัดและมีการนำข้อมูลเข้าที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างแน่นอน มีขั้นตอนการตรวจสอบจนเป็นที่แน่ใจได้ว่าถูกต้อง ทั้งความสมบูรณ์ของ การนำข้อมูลเข้าและการประมวลผล โดยใช้หลักการตัดสินใจทางตรรก (logic) และผลลัพธ์ที่ได้จากการตัดสินใจแบบนี้ จะอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน คือ จะต้องเด่นชัดในแง่ที่ว่า จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรและควรมีข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้รับสามารถนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ จากหลายๆ กรณีที่ไม่อาจจะกำหนดขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์การตัดสินใจเพื่อประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ธรรมดาทั่วๆ ไป ให้ได้มากที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป และไม่สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้ เราจะใช้คนเป็นผู้ตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน


2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)

การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ย่อมไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจไว้ก่อนล่วงหน้า อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การเตรียมขั้นตอน การตัดสินใจหรือความไม่เข้าใจวิธีการประมวลดีพอหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนไม่สามารถจะกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่เป็นถาวรได้ สิ่งสนับสนุนการตัดสินใจโครงสร้างแบบนี้ ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนการตัดสินใจที่จะประยุกต์เพื่อหาคำตอบจากปัญหา ข้อมูลที่ต้องการอาจจะจัดหามาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นการดึงข้อมูลอาจเกิดตามการร้องขอระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างจะใช้วิธีการถาม – ตอบและการวิเคราะห์

3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structure)

เป็นการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือคาดการณ์ได้ยากคุณลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

1) จัดเตรียมสารสนเทศซึ่งได้ทำการประมวลผลแล้วจากการประมวลผลข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจ

2) สนับสนุนการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง

3) สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้

4) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริการระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตามความต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็วคุณลักษณะของระบบเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้บริหารระดับสูง

5) ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ทำหน้าที่เสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากบางครั้งต้องตัดสินปัญหาที่มีความซับซ้อนเกินกว่าจะตัดสินใจตามลำพังได้ ดังนั้นผู้ให้บริการอาจใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษา ค้นหาช่องทาง และโอกาส เพื่อจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่


สามารถแบ่งได้อีกแบบหนึ่ง คือ แบ่งเป็น 2 ประเภท


1.ระบบสารสนเทศเพื่อสนุบสนุนการตัดสินใจของบุคคล 

2.ระบบสารสนเทศเพื่อสนุบสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

5. ตัวอย่างโปรแกรม ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการ ตัดสินใจ

- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับกลยุทธ์ในการแข่งขัน



บริษัทไฟร์สโตน (Firestone Rubber & Tire) ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่ ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์ขายด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์ของบริษัทไฟร์สโตน สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลฺต แรงกด และปริมาณการขาย ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ

- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับการบริหารการจัดส่งสินค้า


บริษัทซาน ไมเกล (San Miguel Corporation) ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารการส่งสินค้า (Production Load Allocation) เพื่อส่งสินค้ากว่า 300 ชนิด เช่น นม เบียร์ และอื่นๆ โดยส่งไปทั่วหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ระบบดังกล่าวช่วยคำนวณความสมดุลระหว่างค่านำส่ง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ กับความถี่ในการนำส่งและปริมาณต่ำสุดในการส่งสินค้า รวมถึงการกำหนดจำนวนสินค้าแต่ละชนิดที่จะผลิตและการนำสินค้านั้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าต่างๆ ระบบนี้ช่วยให้บริษัทกำหนดแผนการผลิตที่เหมาะสมและสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าไว้ในคลังได้ถึง 180000 เหรียญสหรัฐต่อปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น